ภาวะเยื่อบุจมูกอักเสบ (Rhinitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของ Nasal Mucosa มักมีอาการ คัดจมูก คันจมูก จาม น้ำมูกไหล หรือน้ำมูกไหลลงคอ แบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ ตามสาเหตุ คือ
- Allergic Rhinitis เกิดจากสารก่อภูมิแพ้
- Nonallergic Rhinitis ไม่ได้มีสาเหตุมาจากสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งอาจมีสาเหตุที่ชัดเจนสามารถรักษาได้ ไปจนถึงไม่มีสาเหตุ
โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นโรคที่เยื่อบุจมูกมีความไวต่อสารก่อภูมิแพ้ โดยมีการตอบสนองผ่าน IgE-Antibody เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยทั่วโลก มักเกิดก่อนอายุ 20 ปี และมักจะมีอาการดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน และอาจพบภาวะแพ้ที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย ได้แก่ โรคหอบหืด ผื่นแพ้ เยื่อบุตาอักเสบ ริดสีดวงจมูก ถึงแม้โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้จะไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่อาจรบกวนต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้มากพอ ๆ กับโรคหอบหืด
โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ
- Perennial Allergic Rhinitis เกิดจากการสัมผัส Indoor Allergen เช่น ไรฝุ่น รา แมลงสาบ หรือรังแคจากสัตว์ ไม่สัมพันธ์กับฤดูกาลสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี
- Seasonal Allergic Rhinitis เกิดจากการสัมผัสกับ Outdoor Allergen ตามฤดูกาล เช่น เกสรดอกไม้
- Occupational Rhinitis เกิดขึ้นจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ใน สถานที่ทำงาน
พยาธิสรีรวิทยา
การที่จะเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ผู้ป่วยต้องเคยได้รับสารก่อภูมิแพ้มาก่อน (Desensitization Phase) เมื่อรับสารก่อภูมิแพ้จะมีการกระตุ้น Antigen Presenting Cell เช่น Dendritic Cell ที่ผิวของเยื่อบุจมูก กระตุ้นให้ร่างกายเปลี่ยน Native CD4-T Cell เป็น Allergen-Specific Th2 Cell ซึ่งจะหลั่ง Cytokines ไปกระตุ้น B-cell สร้าง IgE จำเพราะต่อสารก่ภูมิแพ้ และเพิ่มปริมาณของ Eosinophil, Mast Cell และ Neutrophil Antigen-Specific IgE จะไปจับอยู่บน Mast Cell หรือ Basophils ต่อมาเมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้อีก (Sensitization Phase) สารก่อภูมิแพ้จะไปจับกับ IgE บน Mast Cell กระตุ้นให้ Mast Cell หลั่งสาร Histamine, Leukotriene, Prostaglandin ซึ่งจะไปกระตุ้นให้มีการอักเสบภายในโพรงจมูก (Early Phase) ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 30 นาทีหลังได้รับสารก่อภูมิแพ้
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้
- กรรมพันธุ์และประวัติในครอบครัว
- ปัจจัยเสี่ยงแรกเกิด เช่น คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ มารดาอายุน้อย
- การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ รังแคจากสัตว์เลี้ยง เชื้อรา แมลง อาหาร มลพิษ สารเคมี และควันบุหรี่เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
อาการที่พบได้บ่อย น้ำมูกใส จาม คัดจมูก และคันจมูก (ไม่จำเป็นต้องมีอาการทั้ง 4 อย่างพร้อม ๆ กัน) อาจมีอาการที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย เช่น คันหู คันคอ คันตา ผื่นคันที่ผิวหนัง หรือมีอาการหอบหืดร่วมด้วย
อาการคัดจมูกมักเป็น 2 ข้าง หรืออาจเป็นสลับข้างกัน โดยทำให้อาการคัดจมูกที่เกิดจาก Nasal Cycle เป็นมากขึ้น หากมีอาการคัดจมูกข้างเดียวให้สงสัยว่าอาจมีสาเหตุจากอย่างอื่น หรือมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย ที่พบได้บ่อย คือ ผนังกั้นโพรงจมูกคด หากมีอาการคัดมาก ๆ จะส่งผลทำให้การได้กลิ่นและต่อมรับรสลดลง
อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้แก่ ใต้ตาคล้ำ มีรอยย่นเหนือปลายจมูก เยื่อบุจมูกซีด ปวดศีรษะ เสียงเปลี่ยน หูอื้อ หรือมีเสียงดังในหู ในผู้ป่วยที่มีอาการตั้งแต่อายุน้อย ๆ และมีอาการนาน ๆ ทำให้ต้องหายใจทางปาก อาจทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้าและฟันผิดปกติ (Long-Face syndrome) คือ ใบหน้าส่วนล่างจะยาวกว่าปกติ เพดานปากจะแคบและโค้งสูง เวลายิ้มจะมองเห็นส่วนของเหงือกที่อยู่เหนือฟันบนได้มาก เรียกว่า Gummy smile และอาจมีความผิดปกติของการสบฟันร่วมด้วย
การวินิจฉัยโรค
- ลักษณะทั่วไป
- ลักษณะของใบหน้า ในเด็กที่มีอาการมานาน อาจพบใบหน้าส่วนล่างยาว (Long Face Syndrome) รอยคล้ำใต้ตา (Allergic Shiner) รอยย่นบริเวณสันจมูก (Allergic Nasal Crease/line)
- การตรวจทางหู คอ จมูก
- ตรวจโพรงจมูกด้านหน้า อาจพบ Turbinate บวม ซีดหรือม่วงคล้ำ น้ำมูกใส แต่ในขณะที่ไม่มีอาการเยื่อบุจมูกอาจปกติ หากมีน้ำมูกขุ่น เหลืองเขียว ต้องสงสัยภาวะจมูกและไซนัสอักเสบจากแบคทีเรียร่วมด้วย บางรายอาจพบริดสีดวงจมูกร่วมด้วย ต่อมแอดีนอยด์หรือเนื้อเยื่อน้ำเหลืองโต (Lymphoid Hyperplasia)
- การตรวจโพรงจมูกโดยการส่องกล้อง (Nasal Endoscopy) ไม่จำเป็นต้องทำทุกราย ทำในรายที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้นหรือสงสัยว่ามีโรคอื่นร่วมด้วย
- ตรวจหู อาจพบแก้วหูขุ่น น้ำขังในหูชั้นกลาง มีการยุบตัวของแก้วหู (Retraction) จากการทำงานบกพร่องของท่อยูสเทเชียน และอาจมีการได้ยินลดลงได้
- ตรวจคอและกล่องเสียง อาจพบตุ่มนู่นกระจายทั่วไป (Cobblestone / Granular Pharynx) อาจพบการอักเสบของกล่องเสียง หรือมีการบวมของสายเสียงได้ หากผู้ป่วยมีน้ำมูกไหลลงคอ ซึ่งทำให้ไอหรือกระแอมบ่อย
การซักประวัติ
มีความสำคัญอย่างมากในการวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรค โดยควรถามทั้งอาการทางจมูก อาการร่วมและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจพบ
- อาการทางจมูก (มีอาการอย่างน้อย 2 อย่าง เป็นมากกว่า 1 ชั่วโมงในแทบทุกวัน)
- คันจมูก
- จามติด ๆ กัน
- น้ำมูกใส
- คัดแน่นจมูก
- อาการอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมด้วย
- การได้รับกลิ่นลดลง
- อาการภูมิแพ้ทางผิวหนัง ดวงตา โรคหอบหืด
- ประวัติครอบครัว
- อาการนอนกรน ความผิดปกติของการนอนหลับ
- อาการทางคอ เช่น น้ำมูกไหลลงคอ ไอเรื้องรัง
- อาการทางหู เช่น หูอื้อ เสียงในหู
- ความถี่ และความรุนแรงของอาการ
- ความถี่
- Intermittent (มีอาการเป็นช่วง ๆ ) หมายถึง มีอาการน้อยกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ หรือมีอาการติดต่อกันน้อยกว่า 4 สัปดาห์ต่อปี
- Persistent (อาการเป็นคงที่) หมายถึง มีอาการมากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ และมีอาการติดต่อกันนานกว่า 4 สัปดาห์
- ความรุนแรง
- Mild (อาการน้อย)
- นอนหลับได้ตามปกติ
- ไม่รบกวนกิจวัตรประจำวัน การเล่นกีฬา และการใช้เวลาว่าง
- ไม่มีปัญหาต่อการทำงานหรือการเรียน
- อาการไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญ
- Moderate to severe (อาการปานกลางถึงมาก)
- ไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ
- มีผลต่อกิจวัตรประจำวัน การเล่นกีฬาและการใช้เวลาว่าง
- มีปัญหาต่อการทำงานหรือการเรียน
- อาการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญ
- Mild (อาการน้อย)
- ความถี่
ยาที่ใช้รักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้
ยาต้านฮิสทามีน (Antihistamine (H1-receptor antagonist))
เป็นยาที่ขัดขวางการทำงานของฮิสทามีนที่ตัวรับฮิสทามีน (H1-receptor) โดยกลไก Neutral Antagonist หรือ Inverse Agonist ยาต้านฮิสทามีนบางชนิดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Antiallergic หรือ Anti-Inflammatory effect) ด้วยข้อบ่งชี้ในการใช้ยาต้านฮิสทามีนคือผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ที่มีอาการคัน, จาม, น้ำมูกไหล ซึ่งมีอาการเป็นช่วง ๆ (Intermittent Allergic Rhinitis) หรือมีอาการไม่มาก ถ้ามีอาการคงที่หรือมีอาการมาก (Moderate to Severe) มักให้ร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ
ยาต้านฮิสทามีนใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยแนะนำให้ใช้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนหรือ 2 ปีขึ้นไป ขึ้นกับชนิดของยาและโรค
ยาต้านฮิสทามีนชนิดเฉพาะที่ (Topical H1-antihistamine)
ยาต้านฮิสทามีนชนิดพ่นจมูก มีประสิทธิภาพดีในการบรรเทาอาการคัน, จาม, คัดจมูก, น้ำมูกไหล และผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้มักทนต่อยาได้ดี แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุ 5 ปี ขึ้นไป สามารถออกฤทธิ์ได้เร็ว ภายใน 30 นาที (Azelastine และ Olopatadine)
ยาต้านฮิสทามีนผสมกับยาหดหลอดเลือด (H1-Antihistamine + Decongestants)
เมื่อผสมตัวยาทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกันจะช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกในโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ได้เพิ่มขึ้น โดยยาหดหลอดเลือดจะออกฤทธิ์ผ่านทาง α-Adrenergic receptor ในจมูก ทำให้หลอดเลือดหดตัว และเนื้อเยื่อในจมูกยุบบวม ซึ่งยาหดหลอดเลือดชนิดพ่น / หยดทางจมูก (Nasal Decongestant) ไม่ควรใช้ต่อเนื่องนานเกิน 5 วัน เพราะจะทำให้เกิดอาการกลับมาคัดแน่นจมูกมากขึ้นหลังหยุดยา (Rebound Congestion) หรือที่เรียกว่า Rhinitis Medicamentosa ตามมาได้
ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Nasal Corticosteroids)
ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โดยสามารถลดอาการทางจมูกได้ทุกอาการ ได้แก่ อาการคันจมูก จาม น้ำมูกไหลและคัดแน่นจมูก และลดอาการทางตาได้ด้วย และยังมีประสิทธิภาพดีกว่ายาต้านฮิสทามีนทั้งชนิดกินและชนิดพ่น จึงแนะนำให้ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกเป็นลำดับแรกในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ชนิดคงที่ ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง หรือมีอาการคัดจมูกเด่น โดยยาจะออกฤทธิ์ช้าประมาณ 7 – 8 ชั่วโมง และยาจะมีประสิทธิภาพเต็มที่หลังใช้ยาอย่างสม่ำเสมอนาน 1 – 2 สัปดาห์
Anti-Leukotrienes
Leucotriene เป็นสารที่สร้างในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ มีการศึกษาว่า Anti-leukotriene ได้ผลพอ ๆ กับ Antihistamine ในการรักาอาการทางจมูก โดยยาจะออกฤทธิ์ขัดขวางการจับระหว่าง cysLTs กับ receptor ได้รับรองให้ใช้ในการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ เมื่อใช้ร่วมกับ Antihistamine จะสามารถควบคุมอาการได้ดีกว่าการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่ง แต่ยังไม่เท่ายาสเตียรอยด์พ่นจมูก สำหรับอาการคัดจมูกพบว่าได้ผลลดอาการได้เท่าเทียมกับยา Pseudoephedrine เนื่องจากยา Anti-leukotriene ใช้ได้ผลดีทั้งในโรคทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง
Mast Cell Stabilizer
เช่น Cromone ได้แก่ Cromolyn Sodium ซึ่งยาตัวนี้จะออกฤทธิ์ช้า และมีฤทธิ์สั้น ในปัจจุบันยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย
การจ่ายยาในร้านยา
แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
- มีอาการไม่เกิน 4 วันต่อสัปดาห์ ไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน (Mild Intermittent)
แนะนำให้ใช้ยากลุ่ม Oral H1-Antihistamine หรือ Topical Antihistamine หรือ Oral Anti-Leukotriene โดยเลือกยาตัวใดตัวหนึ่ง ให้เฉพาะเวลามีอาการไม่จำเป็นต้องใช้ต่อเนื่อง หากอาการไม่ดีขึ้นอาจเปลี่ยนยาหรือใช้ควบคู่กับกลุ่มอื่น หากมีอาการคัดแน่นจมูกให้ใช้ Decongestant ร่วมด้วย หากใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้นให้พิจารณาใช้ยาในข้อ 2
- มีอาการไม่เกิน 4 วันต่อสัปดาห์ แต่รบกวนชีวิตประจำวัน หรือ มีอาการมากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ ไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน (Moderate – Severe Intermittent และ Mild Persistent)
แนะนำให้ใช้ยากลุ่ม Oral H1-Antihistamine หรือ Topical Antihistamine หรือ Oral Anti-Leukotriene โดยเลือกยาตัวใดตัวหนึ่ง ร่วมกับ Steroid พ่นจมูก หากมีอาการคัดแน่นจมูกให้ใช้ Decongestant ร่วมด้วย ประเมินผลการรักษาหลังจากใช้ครบ 2 – 4 สัปดาห์ หากประเมินแล้วดีขึ้นให้ใช้ต่อเนื่องอีก 1 เดือน หากไม่ได้ผลให้พิจารณาใช้ยาในข้อ 3
- มีอาการมากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน (Moderate – Severe Persistent)
พิจารณาใช้ Steroid พ่นจมูก ร่วมกับ H1-Antihistamine และ Anti-Leukotriene ประเมินผลการรักษาหลังจากใช้ครบ 2 – 4 สัปดาห์ หากประเมินแล้วดีขึ้นให้ใช้ต่อเนื่องอีก 1 เดือน หากไม่ได้ผลให้ประเมินว่าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เช่น ความสม่ำเสมอของการใช้ยา ความถูกต้องของการใช้ยา หรือมีไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูกร่วมด้วย หากไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่นให้ Step up ขนาดยา
Drug | Low daily Dose (μg) | Medium daily Dose (μg) | High daily Dose (μg) |
Beclomethasone dipropionate | 200 – 500 | >500 – 1000 | >1000 – 2000 |
Budesonide | 200 – 400 | >400 – 800 | >800 – 1600 |
Ciclesonide | 80 – 160 | > 160 – 320 | >320 – 1280 |
Flunisolide | 500 – 1000 | >1000 – 2000 | >2000 |
Fluticasone propionate | 100 – 250 | >250 – 500 | >500 – 1000 |
Mometasone furoate | 200 – 400 | >400 – 800 | >800 – 1200 |
Triamcinolone acetonide | 400 – 1000 | >1000 – 2000 | >2000 |
ชื่อยา | ประเภทของยาตามความเสี่ยงต่อตัวอ่อน / ทารก | อายุที่แนะนำให้ใช้ |
Intranasal Corticosteroids | ||
Beclomethasone | B | 6 ปี |
Budesonide | C | 6 ปี |
Fluticasone propionate | C | 4 ปี |
Triamcinolone acetonide | C | 2 ปี |
Fluticasone Furoate | C | 2 ปี |
Mometasone furoate | C | 2 ปี |
Oral Antihistamines | ||
Cetirizine | B | 2 ปี |
Desloratadine | C | 6 เดือน |
Fexofenadine | C | 6 เดือน |
Levocetirizine | B | 6 ปี |
Loratadine | B | 2 ปี |
Decongestants | ||
Pseudoephedrine | C | 2 ปี |
Oxymetazoline | C | 6 เดือน |
Anti-Leukotriene | ||
Montelukast | B | 6 เดือน |